รีวิวหนังใหม่ Drive My Car

ณ ตอนนี้ หนังนอกกระแสญี่ปุ่นอย่าง ‘Drive My Car สุดทางรัก’ ก็ฉายมาได้กว่า 4 เดือนแล้วนะครับ (เข้าฉายครั้งแรก 11 พฤศจิกายน 2564) แม้ว่าจะไม่ใช่หนังกระแสกระหึ่ม แต่ก็นับว่าเป็นหนังนอกกระแสที่ได้รับกระแสชื่นชมไม่ขาดสาย และเดินสายกวาดมาแล้วนับไม่ถ้วน ทั้งรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ปี 2021 (Cannes Film Festival 2021) เทศกาลภาพยนตร์ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ (Busan International Film Festival in 2021) และได้มีโอกาสเป็นตัวแทนของเอเชีย เข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 94 มากถึง 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม, ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ดูหนัง 

มาถึงหนึ่งในหนังที่ผู้เขียนเฝ้ารอคอยที่อยากจะตีตั๋วเข้าไปพิสูจน์ด้วยตาของตัวเองที่สุดในปีนี้อีกเรื่อง กับหนังดราม่าจัดๆ จากญี่ปุ่นที่ภาพฉาบหน้าดูยังไม่เท่าไหร่ แต่พอได้ซึบซาบเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับเนื้อหนังแล้ว…กลายเป็นอารมณ์กัดกินใจลึกเข้าไปเรื่อยๆ นี่คือ “Drive My Car สุดทางรัก” หนังที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ 2022 จากประเทศญี่ปุ่น และยังคว้ารางวัลจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ 2021 มาได้ด้วย และวันนี้เราได้ทราบแล้วว่า…ทำไมหนังถึงได้รับโอกาสยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ดูหนังออนไลน์ 

รีวิวหนังใหม่ Drive My Car

เป็นบทหนังที่ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นของ ฮารูกิ มูรากามิ ที่ชื่อ ‘Men Without Women’ บอกเล่าเรื่องราวของ ยูซูเกะ ฮาฟูกุ (Hidetoshi Nishijima/ฮิเดโตชิ นิชิจิมะ) ชายผู้กำกับละครเวทีที่มีภรรยาชื่อ โอโตะ (Reika Kirishima/เรกะ คิริชิมะ) เธอประกอบอาชีพเป็นผู้เขียนบท ทั้งสองเคยมีชีวิตหลังแต่งงานที่แสนสุข แต่วันหนึ่ง เธอก็จากไปอย่างกะทันหัน ทิ้งไว้เพียงบาดแผลและความลับ ตอนนี้ เหตุการณ์นั้นผ่านไปได้ 2 ปีแล้ว สองปีผ่านมา เขายังไม่อาจทำใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ จนวันหนึ่ง เขาก็ได้รับเชิญให้ไปกำกับละครเวทีที่ฮิโรชิม่า ซึ่งอาจเป็นทางหนึ่งในการเยียวยาบำบัดจิตใจที่บอบช้ำอยู่ก็ได้ ดูหนัง 4k 

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นฝีมือการกำกับของ ‘เรียวสึเกะ ฮะมะกุชิ’ (Ryusuke Hamaguchi) เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้น ‘Drive My Car’ ที่บรรจุอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้น ‘Men Without Women’ (ชายที่คนรักจากไป) ผลงานของนักเขียนชื่อดังระดับโลก ‘ฮะรุกิ มุระคะมิ’ (Haruki Murakami) ตัวเรื่องว่าด้วยเรื่องของ ‘คะฟุกุ’ (Hidetoshi Nishijima) นักแสดงและผู้กำกับละครเวทีวัยกลางคน ที่สูญเสียชีวิตแต่งงานอันแสนสุข หลังจากที่ ‘โอโต’ (Reika Kirishima) ผู้เป็นภรรยาจากไปอย่างกะทันหัน พร้อมกับทิ้งความลับและความเจ็บปวดบางอย่างเอาไว้ให้ เขาตัดสินใจรับข้อเสนอกำกับละครเวทีที่ฮิโระชิมะ และรับ ‘มิซะกิ’ (Tôko Miura) หญิงสาวผู้เงียบขรึม ให้มาเป็นคนขับรถสีแดง ซึ่งในที่สุด เธอและรถสีแดงคันนี้จะกลายเป็นสถานที่เผยความลับ เปลื้องเปลือย และเปลี่ยนชีวิตของคะฟุกุไปอย่างสิ้นเชิง ดูหนังออนไลน์ 4k

รีวิวหนังใหม่ Drive My Car

Drive My Car เป็นเรื่องราวของ ยูซูเกะ ฮาฟูกุ นักแสดงและผู้กำกับละครเวทีหนุ่มใหญ่ ที่มีชีวิตแต่งงานแสนสุขกับ โอโตะ นักเขียนบทสาว แต่แล้ววันหนึ่งโอโตะได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน ทิ้งไว้เพียงความลับและบาดแผล 2 ปีต่อมา ฮาฟูกุยังคงไม่สามารถเยียวยาจิตใจออกจากความสูญเสียได้ ตัดสินใจรับข้อเสนอไปกำกับละครเรื่องหนึ่งในเทศกาลที่ฮิโรชิมา และขับรถออกเดินทางไปตามลำพัง รีวิวหนังใหม่

มองเห็นหนังที่มีความยาวระดับ 2 ชั่วโมง 59 นาที แบบนี้ คนดูก็อาจนึกแขยงในใจ หนังอะไรกัน ยาวตั้ง 3 ชั่วโมง แต่เมื่อได้เข้าไปดูเองจึงพบว่า แม้ตัวหนังจะเดินไปอย่างไม่รีบร้อน แต่ก็มีอะไรให้เล่า ให้เรานั่งฟังบทสนทนา นั่งดูชีวิตที่คล้ายเป็นไดอารี่เล่มหนา บรรจงเขียนบอกเล่าทุกสิ่งที่พบเจอมา ในแต่ละวัน แต่ละวัน ให้เราซึมซับ

เริ่มต้นมันเป็นเรื่องคู่สามีภรรยาคู่หนึ่งที่ดูเหมือนจะอบอุ่นมีความสุข คนหนึ่งเป็นมือเขียนบท อีกคนเป็นมือกำกับ [แต่ก็ลงมือแสดงเองด้วยนะ] ทั้งสองคนมีความสุขกับการแต่งเรื่องราวแม้ร่างกายจะยังเปลือยเปล่าอยู่บนเตียงนอน แต่นั่นเป็นเพียงภาพความทรงจำ หลังเขาได้พบกับเรื่องลับของเธอที่โคตรช็อกเข้าโดยบังเอิญ วันต่อมา ก็พบว่าเธอเสียชีวิตและจากเขาไปไกล

รีวิวหนังใหม่ Drive My Car

แต่แม้ว่าตัวหนังเองจะโปรโมตหน้าหนังว่า เป็นการหยิบเรื่องสั้น ‘Drive My Car’ ที่อยู่ภายในเล่มมาเล่าในรูปแบบภาพยนตร์ แต่ก็ต้องหมายเหตุไว้ตัวโต ๆ ก่อนนะครับว่า ลำพังเรื่องสั้นความยาวต้นฉบับเพียง 40 หน้าคงไม่สามารถขยายออกมาเป็นเรื่องราวใหญ่ ๆ ขนาดนี้ได้แน่ ๆ แต่ผู้เขียนบทร่วมทั้ง ‘เรียวสึเกะ ฮะมะกุชิ’ และ ‘ทะกะมะสะ โอะเอะ’ (Takamasa Oe) ใช้วิธีการหยิบเอาจักรวาลเรื่องราวจากเรื่องสั้นเรื่องต่าง ๆ จากหนังสือ ‘Men Without Women’

ซึ่งเป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่มุระกะมิตั้งใจวางธีมเกี่ยวกับเรื่องของผู้ชายที่หญิงสาวจากไปด้วยเหตุต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ มาปรับเติม เสริมแต่ง ตีความใหม่ และดัดแปลงให้มาอยู่ร่วมชายคาของเส้นเรื่องภาพยนตร์เดียวกัน (แม้ว่าตัวหนังจะอ้างอิงชื่อจากเรื่องสั้นเพียงเรื่องเดียวก็ตาม)

หนึ่งในสิ่งที่ไม่พูดถึงก็คงจะไม่ได้เลยคือเรื่องความยาวของตัวหนัง เพราะ Drive My Car เป็นหนังดราม่าจัดๆ ที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างเต็มรูปแบบ กินเวลาเกือบๆ 3 ชั่วโมงเต็มเลยทีเดียว แต่ถึงแม้ว่าหนังจะค่อนข้างยาวมาก ก็นับว่าเป็นประสบการณ์ดูหนังที่ค่อนข้างคุ้มค่าตัวไม่เบา เพราะนี่เป็น 3 ชั่วโมงที่คนดูได้ถลำลึกและซึมซับเข้าถึงตัวเลขได้อย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เสมือนการได้เปิดใจทำความรู้จักคนใหม่ๆ เข้ามาในชีวิตตัวเองอะไรทำนองนั้น

“เรียวสึเกะ ฮามะกูชิ” คือผู้กำกับที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดหนังเรื่องนี้ ทั้งกำกับและเขียนบทหนังเอง เขาคือนักทำหนังที่มีลายเส้นและฝีมือในการเป็น Storyteller ระดับแถวหน้าของญี่ปุ่น เห็นได้จากผลงานก่อนหน้านี้ของเขา ที่ล้วนแต่เป็นหนังที่จัดการกับความรู้สึกและความคิดของตัวละครหลักๆ ได้เป็นอย่างดี และเขาก็ยังหยิบเอาแนวถนัดของเขามาใส่เอาไว้ใน Drive My Car หนังดราม่าที่เลือกใช้วิธีการเล่าเรื่องด้วยการขับเคลื่อนของยานยนต์เป็นตัวแทน

รีวิวหนังใหม่ Drive My Car

ทั้งเรื่องเล่าจินตนาการเกี่ยวกับหญิงสาวมัธยมปลาย ที่ชาติที่แล้วเกิดเป็นปลาแลมป์เพรย์ (ปลาไหลทะเล) เธอตกหลุมรักเพื่อนชายคนหนึ่ง จนกระทั่งเธอได้ย่องเข้าไปในบ้านของชายหนุ่มคนนั้น เพื่อแอบเข้าไปขโมยข้าวของ เรื่องราวส่วนตัว ช่วยตัวเอง พร้อมกับทิ้งผ้าอนามัยและเส้นผมไว้เป็นเครื่องหมายใน ‘เซเฮราซาด’ (แปลโดย อานนท์ สันติวิสุทธิ์) ซึ่งในหนังถูกจินตนาการต่อให้กลายเป็นเรื่องราวที่ ‘โอโต’ (Reika Kirishima) นักเขียนบทละครและภรรยา เล่าเรื่องนี้ให้ ‘คะฟุกุ’ (Hidetoshi Nishijima) นักแสดงละครเวทีวัยกลางคนฟังหลังจากมีเพศสัมพันธ์เสร็จสิ้น และก็กลายมาเป็น Conflict เชือดเฉือนช่วงไคลแมกซ์ในภายหลัง

หนังเรื่องนี้พัฒนาดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นของ “ฮารุกิ มูระกามิ” ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถขยายออกมาได้เป็นเรื่องยาวและยิ่งใหญ่เพียงดี และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Drive My Car เป็นหนังที่มีองค์ประกอบต่างๆ ทั้ง Pacing และ Segment ที่เกือบจะสมบูรณ์แบบเลยทีเดียว และหนังก็ยังนับว่าเป็นหนังที่มีบทภาพยนตร์เข้าขั้นยอดเยี่ยมใช้ได้ที่สุดเรื่องหนึ่งของปีนี้เลยก็ว่าได้

บทหนังเรื่องนี้ ที่ เรียวสึเกะ ฮามะกูชิ ได้พยายามถ่ายทอดออกมานั้น มีนัยยะสำคัญตั้งแต่ฉากแรกเริ่มของหนังไปถึงฉากสุดท้าย จากองค์ประกอบเรื่องราวเพียงแค่หย่อมเดียว เขาสามารถแผ่ขยายและเกลี่ยเรื่องราวออกไปได้อย่างอิมแพค โดยนอกจากที่หนังจะใช้การขับเคลื่อนยานยนต์มาช่วยในการพัฒนาตัวละครแล้ว ยังได้หยิบเอาการดำเนินเรื่องเคล้ากับบทละครเวทีมาเสริมความหนักแน่นให้ตัวเรื่องเข้าไปอีก

ระหว่างนั้น ละครเวทีก็กำลังเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเรื่อยๆ บทละครที่ถูกซ้อมพูด ซ้อมส่งอารมณ์ มีบางอย่างที่คล้ายจะสัมพันธ์กับความจริงที่คาฟุกุพบเจอ ดังเหมือนละครที่กำลังบอกอะไรบางอย่างกับตัวเขา มันอาจเป็นการทับซ้อนระหว่างความจริงที่ตัวละครกำลังเผชิญกับบทละครที่พวกเขาต้องซ้อมต้องแสดง ตรงนี้ถ้าจะไม่ใส่ใจ ไม่คิดมากก็คงปล่อยไปได้ แต่ถ้าดูเอาแบบลงลึกก็น่าจะมีอะไรให้คิดตริตรองมากอยู่เหมือนกัน

และจากเรื่องสั้น ‘คิโนะ’ (แปลโดย มุทิตา พานิช) ที่ผู้เขียนบทร่วมหยิบเอา Vibe เกี่ยวกับฉากดื่มสุราในบาร์เคล้าเสียงเพลงจากแผ่นเสียง และฉากที่สามีแอบเห็นภรรยาร่วมรักกับชายชู้ในบ้านของตัวเอง จนต้องแอบหนีออกมาจากบ้านไม่ให้ระแคะระคาย รวมทั้งเรื่องเล่าเล็ก ๆ ของ ‘มิซะกิ’ (Tôko Miura) สารถีหญิงเกี่ยวกับแม่วัยกลางคน ผู้มีบุคลิกแบบเด็กสาวแอบแฝงอยู่ของเธอ ซึ่งหยิบเอามาจากเรื่องสั้น ‘พวกผู้ชายที่คนรักจากไป’ (แปลโดย มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์)

บทพูดและไดอะล็อกในบางช่วงบางฉากของ Drive My Car ถ่ายทอดมาได้น่าขนลุก แม้ว่าจะเป็นประโยคที่มีการใส่จังหวะความเป็นละครเวทีสอดแทรกเข้ามา แต่ก็ต้องทำให้ดูจับจ้องสนใจที่จะฟัง เพราะทุกๆ คำเอื้อนเอ่ยที่ออกมานั้น ผู้กำกับได้สอดแทรกแนวความคิดและเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงกับจิตใจในเวลานั้นๆ ของตัวละครแทบจะทุกเม็ด และฉากที่ประทับใจส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดขึ้นบนอยู่รถคันเล็กๆ และผู้เขียนชื่นชอบมากๆ ก็คือฉากสนทนาลองเทคบนรถ ที่มีไดอะล็อกยาวเป็นหน้ากระดาษทีเดียว

นักแสดงรุ่นใหญ่ยอดฝีมือ “ฮิเดโตชิ นิชิจิมะ” แบกหนังทั้งเรื่องเอาไว้ได้อยู่หมัด การแสดงในลักษณะน้อยแต่มากของเขาได้ถูกมาใช้ถ่ายทอดในเรื่องนี้ และนี่จึงก็กลายเป็นผลงานมาสเตอร์พีชเรื่องล่าสุดของเขาไปโดยปริยาย ด้วยองค์ประกอบของบทหนังที่ส่งเสริมคาแรกเตอร์นี้เป็นอย่างดี เมื่อได้ฮิเดโตชิมมาสวมบทบาทนั้น ออกมาเป็นตัวละครที่เต็มไปด้วยมิติหลากหลายเป็นอย่างดี วิธีการตีความและตกผลึกออกมาของเขาค่อนข้างน่าทึ่ง เป็นตัวละครที่มีความเป็นมนุษย์มากๆ อีกตัวในโลกภาพยนตร์

หรือแม้แต่เรื่องง่าย ๆ ที่ใครอ่านเรื่องสั้นแล้วก็น่าจะสังเกตได้คือ การเปลี่ยนสีรถจาก ‘Saab 900’ สีเหลืองของคะฟุกุ ซึ่งถือว่าเป็นรถที่เป็นจุดศูนย์กลางและเป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องราวเกือบทั้งหมดในเรื่องสั้น กลายเป็น ‘Saab 900 Turbo’

สีแดงแปร๊ดแทน ซึ่งในทางภาพยนตร์ก็อย่างที่ทราบครับว่า รถสีแดงยังไงก็ขึ้นกล้องและ Iconic กว่ารถสีเหลืองอยู่แล้ว รวมทั้งการเพิ่มตัวละครใหม่ๆ และทำการเปลี่ยนรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในหนังให้สอดคล้องไปกับความเป็นภาพยนตร์ มากกว่าจะยึดตามแบบต้นฉบับจากเรื่องสั้น