รีวิว แบล็ก มิร์เรอร์

 

 

หนังใหม่ netflix เดินทางมาถึงซีซั่นที่ 4 แล้วสำหรับ Black Mirror ซีรีส์สัญชาติอังกฤษที่มีฉากหลังเป็นโลกอนาคตซึ่งชี้ชวนผู้ชมให้ตั้งคำถามว่า ‘จะเป็นอย่างไรหากเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคมมนุษย์’

หากใครยังไม่เคยดูคงต้องเกริ่นก่อนว่า Black Mirror คือซีรีส์จบในตอนเหมือนหนังสั้นเรื่องหนึ่งที่เรื่องราวเป็นอิสระต่อกัน แต่ละตอนใช้ผู้กำกับคนละคน โดยมีผู้อำนวยการสร้างอย่างชาร์ลี บรูกเกอร์ เป็นหัวไอเดียคุมงานสร้างและเขียนบททั้งหมด

ภายใต้คอนเซปต์ที่สะท้อนด้านมืดของเทคโนโลยีและจิตใจมนุษย์ สมกับชื่อซีรีส์ที่ทำหน้าที่เป็นกระจกดำให้คนดูได้สำรวจความน่ากลัวจากการถูกครอบงำโดยเทคโนโลยี ความเป็นมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนเมื่อนวัตกรรมได้ก้าวล้ำเส้นแบ่งความถูกผิดสู่โซนสีเทา ซึ่งในแต่ละตอนของ Black Mirror ได้จับเอาไอเดียตรงนี้มาทำให้เห็นภาพชัดเจนและชวนขบคิดต่อหลังดูจบ

 

รีวิว แบล็ก มิร์เรอร์

 

หลังจากซีซั่น 3 ที่ขยายฐานคนดูจากช่อง Channel 4 ของอังกฤษมาลงใน Netflix นอกจากจำนวนตอนที่เพิ่มขึ้นมาให้ดูอย่างจุใจแล้ว เนื้อหายังดูง่ายขึ้นเพื่อรองรับกลุ่มผู้ชมที่หลากหลาย เห็นได้ชัดจากซีซั่น 3 ที่พูดถึงเรื่องโซเชียลมีเดียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งตอนที่พูดถึงสังคมติดรีวิวด้วยการใช้ยอดไลก์ยกระดับทางสังคม ความปลอดภัยส่วนบุคคลของโลกไซเบอร์ หรือผลกระทบจากการล่าแม่มดในอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการโยกย้ายโลเคชั่นถ่ายทำจากสองซีซั่นก่อนที่เหตุการณ์ทั้งหมดอยู่เพียงแค่ในสหราชอาณาจักรมาเป็นฝั่งอเมริกาบ้าง

ในซีซั่น 4 นี้จึงกล่าวได้ว่า Black Mirror มีกลิ่นอายอเมริกันมากขึ้นจากการที่หนังใช้สไตล์การเล่าเรื่องแบบฮอลลีวูดที่มีบีตความสนุกชัดเจนและดูง่ายกว่าแต่ก่อนที่เป็นสไตล์อังกฤษจ๋าและเล่าเรื่องตามใจฉัน แต่การเล่าเรื่องแต่ละแบบแน่นอนว่าย่อมมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ถึงแม้การเล่าเรื่องแบบอังกฤษจะมีลักษณะที่อินดี้ (หรืออืดเอื่อยกว่าในบางที) แต่ก็จบแบบทิ้งปมให้ได้คิดมากกว่าแบบอเมริกันที่มีเนื้อหาย่อยง่าย จบเคลียร์แต่ไม่ตรึงผู้ชมให้ได้คิดทบทวนมากเท่า

 

รีวิว แบล็ก มิร์เรอร์

 

สำหรับ Black Mirror ซีซั่น 4 นี้มีทั้งหมด 6 ตอน ซึ่งยากแก่การบอกเล่าอย่างรวมๆ ว่าทั้งหมดเป็นอย่างไรเพราะแต่ละตอนมีเนื้อหาไม่เหมือนกันเลย แต่แน่นอนว่ามันได้คว้านเอาด้านมืดออกมาตีแผ่ให้เราได้ระทึกเหมือนเดินอยู่บนเส้นด้ายแห่งศีลธรรมอันหมิ่นเหม่ ซึ่งหากไม่ระวัง Black Mirror ก็พร้อมจะผลักเราให้ตกลงสู่เหวลึกเบื้องล่างเสมอ จึงขอเตือนไว้ก่อนเลยว่าหากดูติดต่อกันอาจทำให้จิตตกได้ง่ายๆ

เริ่มกันที่ตอนแรกซึ่งเราขอยกให้เป็นตอนที่สนุกและตื่นเต้นที่สุดในซีซั่น ชวนให้นึกถึง Star Trek กับลูกเรืออวกาศและกับตันผู้บังคับบัญชา มีการต่อยอดไอเดียจาก White Christmas ในซีซั่น 2 เรื่องการก๊อปปี้บุคคล เพียงแต่เจาะจงเล่าในมุมมองของตัวละครที่ถูกคัดลอกมามากขึ้นว่าพวกเขามีอารมณ์และเรื่องราวของตัวเองอย่างไร ถึงจะเดาทางบทได้ไม่ยากแต่ก็ต้องยอมรับว่าทำออกมาได้บันเทิงสมกับเป็นตอนเปิดซีซั่น แถมแฟนบอย Star Trek ยังต้องกรี๊ดไปกับฉากการผจญภัยในอวกาศและแฟชั่นคอสตูมอันเป็นเอกลักษณ์แน่นอน

เมื่อแม่คนหนึ่งกังวลในความปลอดภัยของลูกจึงติดตั้งระบบ Arkangel นวัตกรรมดูแลเด็กยุคใหม่ซึ่งจะทำให้มองเห็นสิ่งที่ลูกเห็นและยังสั่งเบลอภาพที่ไม่เหมาะสมแก่ลูกได้ เป็นเรื่องดีหรือไม่ที่ผู้ปกครองสามารถ’จับตาดู’ ลูกๆ ของพวกเขาได้ตลอด 24 ชม. สำหรับตอนนี้ตั้งแต่ต้นเรื่องเราพอจับเค้าได้แล้วว่าเรื่องจะจบไปทางไหน แต่หนังก็ดึงไปสุดทางกว่าที่คิด ทำเอารู้สึกจุกในอกทันทีที่ขึ้นเครดิตจบ นับเป็นตอนที่เราหลงรักประเด็นพร้อมโอดโอยไปกับความโหดของมัน

 

รีวิว แบล็ก มิร์เรอร์

เป็นตอนที่ให้อารมณ์แบบภาพยนตร์ระทึกขวัญ ซึ่งเริ่มต้นจากความผิดพลาดในอดีตที่ส่งผลมาถึงปัจจุบันและลุกลามใหญ่โตขึ้น มีอา สถาปนิกหญิงที่พยายามจะปกปิดความลับอันเลวร้าย ในขณะที่ชาเซีย ผู้ตรวจสอบความทรงจำจากบริษัทประกันภัยกำลังสืบหาความจริง หนังเล่าในจังหวะเรียบนิ่งแต่เราชอบความเลือดเย็นของมัน ถึงแม้จะไม่ได้มีประเด็นเรื่องเทคโนโลยีที่ขุดความดาร์กของมนุษย์ออกมามากมายอะไร

ยุคนี้เราคงคุ้นเคยกับแอพพลิเคชั่นหาคู่อย่าง Tinder ที่จะจับคู่เราให้กับคนที่สนใจ เรื่องราวในตอนนี้ก็เล่าถึงระบบหาคู่ในอนาคตที่ทำงานคล้ายทินเดอร์ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีวันหมดอายุให้ความสัมพันธ์ทุกคู่ว่าควรจบความสัมพันธ์กันเมื่อไหร่จนกว่าเราจะเจอคู่แท้ของเราจริงๆ (ซึ่งระบบก็เป็นคนบอกอีกนั่นล่ะ) ที่สำคัญคือทุกคนต่อต้านไม่ได้และต้องทำตามสิ่งที่เรียกว่าโค้ชความรักของพวกเขา ให้อารมณ์เหมือนดูหนังเรื่อง The Lobster ที่เสียดสีเรื่องการอยู่ในสังคมที่ต้องหาคู่อย่างสุดโต่ง เป็นตอนที่เลือกเล่าประเด็นช้ำอย่างเรื่องความรักแต่ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกยี้แต่อย่างใด

 

รีวิว แบล็ก มิร์เรอร์

 

หุ่นยนต์หมาสุดโหดที่ไล่ล่ามนุษย์ในโลกอนาคตที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งขายความตื่นเต้นของฉากเอาตัวรอดของฝั่งมนุษย์ ความพิเศษคือตอนนี้ถูกถ่ายทำเป็นสีขาวดำเพื่อตอกย้ำความเป็นโลกหลังหายนะที่ไม่เหลือสิ่งใดเลย (แม้แต่สีสัน) แต่ด้วยความที่หนังโฟกัสไปแค่ฉากการหลบหนีของตัวละครเลยทำให้เราไม่รู้สึกถึงประเด็นหลักที่หนังจะสื่อมากนัก จึงคิดว่าตอนนี้ยังไม่ค่อยสุดเท่าไหร่ ดูหนังฟรี

เรื่องราวของพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงสิ่งของหายากที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ซึ่งมีสิ่งของและไอเดียจากตอนก่อนๆ ในซีซั่นนี้โผล่มาให้เรารู้สึกเชื่อมโยงกับตอนก่อนหน้าด้วย นี่จึงเป็นตอนที่เราชอบที่สุดในซีซั่น 4 ด้วยจังหวะการเล่าที่นอกจากสนุกและสะใจแล้วยังใช้วิธีเล่าเรื่องซ้อนเรื่องเล่าเหมือน White Christmas ในซีซั่น 2 แต่ทำออกมาได้สะเทือนอารมณ์คนละแบบ

 

 

สุดท้ายความสนุกของซีซั่นนี้นอกจากเนื้อเรื่องคือ Easter Egg จากตอนในซีซั่นก่อนหน้าที่จงใจใส่มาเพื่อเชื่อมจักรวาลของ Black Mirror ให้เป็นหนึ่งเดียว นอกจากรับชมเรื่องราวแล้วเราเลยยังสนุกกับการจับสังเกตในแต่ละตอนที่เชื่อมโยงทุกซีซันเข้าด้วยกัน อย่างแอพพลิเคชั่นเดทที่เอเลน่า พนักงานต้อนรับใน USS Callister (Season 4 ep.1) เล่นก็เป็นแอพเดียวกับที่คูเปอร์ตัวเอกของ Playtest (Season 3 ep.2)

ใช้โปสเตอร์แรปเปอร์จาก Hated in the Nation (Season 3 ep.3) ที่แปะอยู่ในห้องนอนของซาร่าจากตอน Arkangel (Season 4 ep.2) โปสการ์ดจาก San Junipero (Season 3 ep.4) ที่ปรากฏอยู่บนโต๊ะใน Metalhead (Season 4 ep.5) หรือแม้กระทั่งเพลง Anyone Who Knows What Love Is (Will Understand) ที่ใส่มาเป็นกิมมิกในทุกซีซั่นก็ทำให้เราดูซีรีส์ชุดนี้อย่างสนุกมากยิ่งขึ้น

 

 

สรุปแล้วก็นับว่ายังไปต่อได้กับซีรี่ส์ชุด Black Mirror ที่ถึงแม้เราจะเริ่มเห็นประเด็นที่ซ้ำซ้อนกับหลายๆ ตอนในซีซั่นก่อนหน้า แต่หนังก็พยายามจับโฟกัสไปที่มุมมองอื่นๆ ในประเด็นเดียวกันเพื่อเล่าเรื่องให้รอบด้านมากขึ้น ผลคือเรายังว้าวกับประเด็นที่หนังต้องการจะเล่าอยู่ และคิดว่าควรค่าแก่การนั่งชมและเฝ้ารอการมาถึงของซีซั่นต่อไป

Black Mirror ซีซั่น 5 รีวิว การกลับมาของซีรีส์ชื่อดังของ Netflix (กดรับชมได้ที่นี่) แบล็คมิเรอร์ซีรีส์ที่ทำให้ให้เห็นแง่ลบภัยร้ายของเทคโนโลยี (แง่ดีก็มีในบางครั้ง) หลังจากมีภาคพิเศษคั่นเวลาที่เป็นหนังแบบอินเตอร์แอคทีฟเลือกได้อย่าง Black Mirror: Bandersnatch ซึ่งไม่ถูกนับรวมในซีซั่น คราวนี้มีมาให้รับชมน้อยกว่าซีซั่นอื่นๆ โดยมีเพียงแค่ 3 ตอนเท่านั้น ซึ่งยังแยกขาดจากกันไม่มีความเกี่ยวข้องกันเหมือนเดิม เลือกรับชมตอนไหนก่อนก็ได้ทั้งนั้นครับ

 

 

ตอนแรกของซีซั่นนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคนเล่นเกมโดยตรง เรื่องเริ่มจากในอดีต เพื่อนซี้ผิวสี 2 คนเล่นเกมต่อสู้ชื่อ Striking Vipers มากันตั้งแต่วัยรุ่นด้วยกันอย่างสนุกสนาน โดยแดนนี่ (Danny ดาราที่เล่นบทฟาลคอนจาก Avengers) จะชอบเล่นตัวละครชายที่ชื่อไอ้หนุ่มกังฟู แลนซ์ ส่วนคาร์ล (Karl ล่าสุดรับบท Black Manta จากหนัง Aquaman) ชอบเล่นตัวละครสาวเซ็กซี่ ร็อกเซตต์ (Roxette)

เวลาผ่านไปจนถึงวัยกลางคนแดนนี่มีครอบครัวเป็นฝั่งฝา ในงานวันเกิดอายุ 38 ปี คาร์ลเพื่อนซี้ที่หายหน้าหายตาไปก็เอาภาคใหม่ Striking Vipers X มาให้เล่น ซึ่งคราวนี้ไม่ใช่แค่ภาพในจอทีวีธรรมดา แต่เป็นเกมแบบเชื่อมต่อสมองเข้าไปในโลกของเกมโดยตรง ตัวผู้เล่นกลายเป็นตัวละครนั้นจริงๆ บังคับเคลื่อนไหวได้อิสระทุกอย่าง แถมมีความรู้สึกทุกอย่างได้เหมือนคนจริงๆ ทำให้ทุกคำ่คืนการเล่นเกมออนไลน์ของทั้งคู่ ไปไกลกว่าแค่เพื่อนเล่นเกมอีกต่อไป

 

แบล็ก มิร์เรอร์

นี่เป็นตอนที่เปิดมาเกี่ยวข้องกับเกมตรงๆ เรื่องราวเนื้อหาน่าสนใจ หมิ่นเหม่กับศีลธรรมตามสูตรของซีรีส์นี้ และน่าจะเป็นตอนที่ติดเรตสูงสุดของซีซั่นนี้แล้ว หนังไม่ได้โฟกัสไปที่เทคโนโลยีความสมจริงของเกม แถมดูไม่ลงทุนด้วยการใช้กระดุมแปะหัวแบบตอนก่อนๆ ที่เกี่ยวกับสมอง เพื่อเข้าไปในโลกเกม (ใครเคยดูมาก่อนคงเห็นบ่อย) แต่ในเกมก็ทำออกมาได้ดี ดูสนุกกับการที่เห็นจินตนาการเกมสุดล้ำ ตัวละครแบบสมจริงต่อสู้กันจริงๆ

แต่หนังเดินเรื่องเกมเพลย์ของ Striking Vipers X ได้นิดเดียว ก็หันมาโฟกัสไปที่ความสัมพันธ์ในเกมของทั้งคู่แทน หนังฉายให้เห็นความสัมพันธ์เร่าร้อนอย่างโจ่งแจ้งไม่มีเซ็นเซอร์ ทั้งคู่อัดกระแทกกันในเกมแต่ละฉาก หลากหลายโลเกชั่น (ที่คุ้นตาคอเกมไฟต์ติ้งเหมือนเป็นการล้อเลียนไปในตัว) กันอย่างเด็ดสะเด่าทุกคืนๆ จนแทบทำให้ตอนนี้กลายเป็นหนัง X เลยก็ว่าได้

 

 

หรือว่านี่คือความหมายแฝงของ Striking Vipers X ที่ไม่ได้หมายถึงภาค 10 ด้วยล่ะมั้ง? ซึ่งตัวเอกทั้งคู่เสพติดการมี SEX ออนไลน์ในเกมที่สมจริงยิ่งกว่าของจริง แม้ทั้งคู่จะเป็นผู้ชาย? นี่เป็นการนอกใจแต่ไม่นอกกายอย่างแท้จริง ซึ่งนั่นทำให้เกิดการตั้งคำถามหลายอย่างตามมาว่า การกระทำของทั้งคู่ผิดกับโลกจริงหรอไม่อย่างไร ในแง่มุมไหนบ้าง?

ในหนังเล่นประเด็นชายรักชาย แถมนอกใจภรรยาในเกมว่าผิดไหม ในทางศีลธรรมการประพฤติตัวเป็นพ่อบ้านที่ดี มีภรรยาเป็นผู้หญิงจริงๆ ก็อาจจะดูผิด แต่นี่เป็นแค่ในเกม ไม่ใช่ของจริง และที่ทั้งคู่มี SEX กันก็ไม่ใช่ตัวตนร่างกายจริงๆ (ดาราที่มาเล่นทั้งคู่ก็เหมาะเจาะสมบทบาทสุดๆ มาก) แต่นี่ก็เป็นแค่ตัวละครในเกมที่สวยหล่อในจินตนาการเท่านั้น แล้วความผิดคืออะไร? หนังตั้งคำถามขึ้นมาแล้วทำให้เห็นว่าตัวละครแดนนี่มีความรู้สึกผิดต่อภรรยา ดูหนังใหม

เพราะติดใจ SEX ในเกมมากกว่าของจริง แต่ไม่สามารถบอกเรื่องนี้ออกไปให้ใครรับรู้ได้ จึงทำได้แค่พยายามหักห้ามใจไม่ให้มาเล่นเกมนี้ต่อ ส่วนคาร์ลติดใจในรสชาติ SEX ในเกมจากเพื่อนสนิทของเขา แม้รู้สึกผิดอยู่บ้าง แต่ความต้องการก็มากล้นเกินห้ามใจไหว ทำให้เขากลายเป็นฝ่ายรุกไล่เพื่อนซี้อย่างหนักเพื่อสนองความต้องการที่เขาเชื่อว่าเพื่อนรักก็สุขสมมากที่สุดในชีวิตเช่นกัน ซึ่งสุดท้ายหนังมีบทสรุปของเรื่องนี้ที่ถือว่าแหวกแนวนิดๆ แต่ก็ไม่เกินคาด

 

 

สำหรับตอนนี้ถ้าคิดว่าจะดูเพื่อมองเทคโนโลยีในแง่ลบหรือใหม่ล้ำยุคมากคงไม่ใช่ และออกจะน่าเบื่อเพราะหนังเน้นเรื่อง SEX เต็มๆ จนดูเหมือนจะมากเกินไป มากเกินกว่าประเด็นทางเทคโนโลยีในเรื่องอีกด้วย แต่ถ้าดูเพื่อขบคิดถึงปัญหาเชิงศีลธรรมในจิตใจ ซึ่งเป็นประเด็นหลักของตอนนี้ก็จะเป็นอะไรที่สนุกพอตัว ซึ่งสิ่งที่หนังจำลองไว้ ก็มีเป็นเรื่องราวขึ้นมาบ้างแล้วกับการเล่นเกมออนไลน์

แล้วพบรักกัน หลงไหลตัวละครในเกม แม้ว่าอีกฝ่ายอาจจะเป็นเพศเดียวกัน แต่ในเกมก็เป็นจินตนาการที่ใครจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องตรงกับเพศสภาพที่แท้จริง แน่นอนว่าเรายังไม่ถึงยุคที่มีเกมเสมือนจริงแบบในหนัง แต่สักวันถ้าเกมใกล้ไปถึงจุดนั้น เรื่องอย่างในหนังตอนนี้คงไม่ใช่อะไรที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ และน่าจะเป็นปัญหาลึกซึ้ง